แผนยุทธศาสตร์การบริหาร เก่า

[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding_last_edited=”on|phone” admin_label=”Blog” _builder_version=”3.27.1″ background_color=”#f5f7fa” background_image=”http://www.rmutk.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/venture_21.png” parallax=”on” custom_padding_tablet=”0px||0px||true|false” custom_padding_phone=”” locked=”off”][et_pb_row _builder_version=”4.2.2″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.2.2″][et_pb_text _builder_version=”4.9.0″ header_font=”||||||||” header_text_color=”#5da71e” header_font_size=”45px” header_font_size_tablet=”41px” header_font_size_phone=”26px” header_font_size_last_edited=”on|phone”]

แผนยุทธศาสตร์การบริหาร

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.2.2″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.2.2″][et_pb_gallery gallery_ids=”50564,50565,50566″ fullwidth=”on” _builder_version=”4.9.0″][/et_pb_gallery][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ admin_label=”Blog” _builder_version=”3.27.1″][et_pb_row _builder_version=”4.2.2″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.2.2″][et_pb_text _builder_version=”4.9.0″ text_font=”Sarabun|300|||||||” text_font_size=”17px” text_line_height=”1.8em” ol_text_align=”left” header_4_font_size=”19px” header_4_line_height=”2.4em”]

แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563)

แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พ.ศ. 2561-2565
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) ระยะ 5 ปี นั้น ถือเป็นเครื่องมือในการบริหารงานเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)  แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574) และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ตลอดจนนโยบายของรัฐบาล

มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพพ.ศ. 2561-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) จากข้อเสนอแนะในการประชุม Retreat สภามหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2562 ณ สปริงฟิลด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา นอกจากนี้ได้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาครั้งนี้ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าสาขาวิชา ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน  รองผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน  ผู้อำนวยการกอง  ผู้อำนวยการสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา  ศูนย์วัฒนธรรม  อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานแผนของคณะ/หน่วยงาน  และทีมงานกองนโยบายและแผน ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรม คลาสสิค คามิโอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยพ.ศ. 2561-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ และเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาประเทศ โดยอาศัยข้อมูลจากการระดมความคิดเห็น สรุปดังนี้

  1. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
  2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564
  3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
  4. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574)
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548
  6. แผนผังความเชื่อมโยงโครงสร้างผลผลิต/โครงการภาพรวมอุดมศึกษา เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 เป้าหมายการให้บริการกระทรวง และยุทธศาสตร์กระทรวง เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย
  7. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย (SWOT Analysis)

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.2.2″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.2.2″][et_pb_accordion closed_toggle_text_color=”#817f7c” icon_color=”#5da71e” use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”19px” _builder_version=”4.9.0″ toggle_text_color=”#5da71e” toggle_font_size=”20px” closed_toggle_font_size=”19px” body_font=”Sarabun|300|||||||” body_font_size=”17px” body_line_height=”1.5em” toggle_font_size_tablet=”20px” toggle_font_size_phone=”19px” toggle_font_size_last_edited=”on|desktop” closed_toggle_font_size_tablet=”17px” closed_toggle_font_size_phone=”16px” closed_toggle_font_size_last_edited=”on|phone” border_radii=”on|10px|10px|10px|10px” border_width_all=”0px” box_shadow_style=”preset1″ box_shadow_blur=”12px” box_shadow_spread=”-2px” box_shadow_color=”#41592f”][et_pb_accordion_item title=”hide” _builder_version=”4.2.2″ custom_css_main_element=”display:none;” open=”on”]

hide

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”1. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)” open=”off” _builder_version=”4.2.2″]

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) มีวิสัยทัศน์ประเทศไทย คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคีสามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน มีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน จนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการ ใช้การรักษาและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุก
ภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลมีเสถียรภาพ และยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม

การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย

1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปี ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้

1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

4) ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564″ _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

วิสัยทัศน์ : สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตามยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ โดยมี 6 ยุทธศาสตร์ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนดังนี้

  • การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
  • ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเลื่อมล้ำในสังคม
  • ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง
  • ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และ

    ธรรมมาภิบาลในสังคมไทย

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
  • ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศในระยะ 5 ปี จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนหน้า เพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติมีการบูรณาการบนทางสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สอดคล้องกับภูมิสังคม การพัฒนาทุกด้าน มีดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์ มีความสอดรับเกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน โดยการพัฒนาในมิติหนึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อมิติอื่นๆ รวมทั้งต้องมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมนำไปสู่การสร้างสังคมที่พึงปรารถนา รวมถึงมีจิตอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579″ _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560  2579 มุ่งเน้น “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ

  • เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ
  • เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง

นอกจากนั้นแผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้

3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetic’s)

8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะ การเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)

มีเป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) 5 ประการ

  • ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access)
  • ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อย่างเท่าเทียม (Equity)
  • ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality)
  • ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency)
  • ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)

นอกจากนี้แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์และแนวคิดการจัดการศึกษา ดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

  • การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
  • การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
  • การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
  • การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”4. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574)” _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี เป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้อุดมศึกษามีบทบาทในการพัฒนาประเทศ โดยแผนอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2533-2547) กำหนดให้อุดมศึกษาต้องสร้างความเป็นเลิศ
ความเสมอภาค ประสิทธิภาพ และความเป็นนานาชาติ ส่วนแผนอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความเชื่อมโยงกับการศึกษาทุกระดับ ปัญหาคุณภาพและมาตรฐาน ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อมา การเปลี่ยนแปลงของโลกเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหลายประการ เช่น โครงสร้างประชากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประชาคมอาเซียน เศรษฐกิจดิจิทัล ฯลฯ ประกอบกับแนวคิดในการปฏิรูปประเทศไทย และการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ระบบอุดมศึกษาเป็นกลไกของรัฐในการพัฒนาความรู้และปัญญาของสังคมและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงมีมติให้ดำเนินการจัดทำ แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2574)

 

เป้าหมายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พิจารณา 5 องค์ประกอบ

  • การเข้าถึงอุดมศึกษาของไทย (Accessibility) : การรับนักศึกษา Age Group, Non-Age Group
  • ความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในการเข้าสู่ระบบอุดมศึกษา (Equity) : ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึง การศึกษาที่มีคุณภาพ
  • คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Quality) : สมรรถนะบัณฑิตความสมดุลของ Soft Skill และ Hard Skill
  • ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ (Efficiency) : ธรรมาภิบาล และการจัดสรรทรัพยากร
  • การตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) : บัณฑิตและงานวิจัยตอบสนอง

    ต่อการพัฒนาประเทศ

แนวคิดการปรับเปลี่ยนระบบอุดมศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (4-Re)

  • Reorientation of Higher Education System การกำหนด Core Competencies ของระบบอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศสู่อนาคต
  • Reprofiling of Higher Education Institutes การปรับยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นจุดเด่นของแต่ละสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ
  • Restructuring of Higher Education System การปรับโครงสร้างของระบบอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบอุดมศึกษา
  • Reorganization of Higher Education System การจัดองค์การใหม่ในระบบอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดกลไกการกำหนดนโยบาย การสนับสนุน การติดตามตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ (Regulator and Providers) และตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2574) มีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • การสร้างโอกาสการเข้าถึงอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นธรรม
  • การพัฒนานักศึกษา
  • โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและนวัตกรรม
  • ภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน
  • การสร้างความมั่นคงทางการเงินในระบบอุดมศึกษา
  • นโยบายการสนับสนุนและประเมินผล
  • การบริหารจัดการที่ดีในระบบอุดมศึกษา
  • อุดมศึกษาดิจิตอล

          เป้าหมายเมื่อสิ้นแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2574)

  • สัดส่วนวิทยาศาสตร์ต่อสังคมศาสตร์ (Science : Humanity) = 60 : 40
  • Global University Ranking in Top 200 = 5 University
  • English Proficiency = Top 5 in Asia

นอกจากนี้สิ่งที่สังคมจะได้รับ (Deliverables)  โอกาสในการเข้าถึงผลผลิตจากทุกพันธกิจอุดมศึกษาที่มีคุณภาพของทุกภาคส่วน (Accessibility and Equity) ทุนทางสังคมให้เกิดผู้นำทางความคิดที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีขึ้น (Quality and Efficiency) องค์ความรู้และนวัตกรรมที่เสนอทางเลือกและตอบโจทย์สังคมเพื่อการพัฒนาประเทศในบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548″ _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548  ลงราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122  ตอนที่ 6 ก  ลงวันที่ 18 มกราคม 2548 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสองรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ที่เน้นการตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและงานบริการ โดยใช้พื้นที่จัดการศึกษาหลักใน 3 พื้นที่ ได้แก่ เทคนิคกรุงเทพ บพิตรพิมุขมหาเมฆ และพระนครใต้ และมีภาระหน้าที่ตามบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาโดยเน้นภารกิจ 4 ด้าน คือ

  • จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและมีความสามารถพร้อมเข้าสู่อาชีพ

  • สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิตและการบริการที่สามารถถ่ายทอดและ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของประเทศ

  • ให้บริการงานวิชาการ และการศึกษาที่มีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการมีอาชีพอิสระและพัฒนาอาชีพสู่การแข่งขัน

  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”6.(ร่าง) แผนผังความเชื่อมโยงโครงสร้างผลผลิต/โครงการภาพรวมอุดมศึกษา เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 เป้าหมายการให้บริการกระทรวง และยุทธศาสตร์กระทรวง เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย” _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

ในการดำเนินการจัดทำแผนการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยได้นำ (ร่าง) แผนผังความเชื่อมโยงโครงสร้างผลผลิต/โครงการภาพรวมอุดมศึกษา เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าหมายกระทรวงในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตกำลังคนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่มีคุณภาพสูงเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ

  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 3 การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 9 แผนงานบุคลากรภาครัฐ

  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากด้วย การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีคุณภาพ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 6 การผลิตและพัฒนาสมรรถนะกําลังคนให้เป็น HighSkilled Workforce ตามความต้องการของประเทศ

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 7 การสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 8 การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนะดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา

    เป้าหมายกระทรวง ข้อที่ 9 แผนงานบุคลากรภาครัฐ

[/et_pb_accordion_item][et_pb_accordion_item title=”7.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย (SWOT Analysis)” _builder_version=”4.2.2″ open=”off”]

มหาวิทยาลัยได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยแบ่งการวิเคราะห์ ดังนี้

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

เป็นการศึกษาองค์ประกอบสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่มีผลกระทบต่อ การดำเนินงานอันจะเป็นการบ่งบอกถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ของการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

          จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ที่เป็นโอกาส และภัยคุกคาม ทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพตอบสนองพันธกิจและเป้าหมายตรงตามนโยบายของรัฐบาล เป็นผลทำให้เกิดโอกาส และภัยคุกคามในการดำเนินงาน ดังนี้

การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

สิ่งสำคัญของการวางแผนที่ดีจำเป็นต้องมีกระบวนการนำไปสูการปฏิบัติที่ดีด้วย และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในการร่วมระดมความคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผิดชอบ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการทำงานภายในขององค์กร ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย ตามที่ได้กำหนดไว้จึงต้องมีการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

          แนวทางการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีระบบและกลไกในการดำเนินการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ไปสู่การดำเนินการ ดังนี้

  • การสื่อสารสร้างความเข้าใจความเป็นมา วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยให้กับผู้บริหารทุกระดับ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

  • หน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยรับผิดชอบในการนำกลยุทธ์ กลวิธี ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมาย ตามศักยภาพและความเชี่ยวชาญ พร้อมจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อดำเนินการ

  • มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ผลลัพธ์และตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการ/กิจกรรมต่างๆ

  • กองนโยบายและแผน นำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การจัดทำการแผนปฏิบัติราชการประจำปี

  • คณะและหน่วยงานเทียบเท่าคณะ นำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยไปเป็นข้อมูลหลัก ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ต้องมีกลยุทธ์ กลวิธี ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ที่รับผิดชอบแสดงไว้ด้วย พร้อมทั้งนำแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นไปสู่การจัดทำการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน

  • มหาวิทยาลัยทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกลยุทธ์ กลวิธี ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย เป็นประจำทุกปี 

การติดตามประเมินผล

          มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีระบบและกลไกในการควบคุม กำกับติดตาม และประเมินผล ดำเนินงานตามแผน ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยติดตามความก้าวหน้า ตามเป้าหมายของตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยประจำปี

  • กองนโยบายและแผนมีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยต่อที่ประชุมหัวหน้าหน่วยงาน

  • มหาวิทยาลัยประเมินการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด

    ในการวัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ครอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลา และความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล จากนั้นรายงานผลต่อสภามหาวิทยาลัย เพื่อขอข้อเสนอแนะ ผลที่ได้ จากการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ในปีต่อไป

[/et_pb_accordion_item][/et_pb_accordion][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

Loading