ค่ายภาษาอังกฤษ“สอนด้วยใจ ให้น้องเก่ง ครั้งที่ 13” (English with Love for the Young XII)” ระหว่าง วันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนธงชัยวิทยา อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อโครงการ
ค่ายภาษาอังกฤษ“สอนด้วยใจ ให้น้องเก่ง ครั้งที่ 13” (English with Love for the Young XII)” ระหว่าง วันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนธงชัยวิทยา อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมระหว่างสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล ภาควิชาภาษาต่างประเทศและอุตสาหกรรมการ คณะศิลปศาสตร์ และหน่วยงานและชุมชน ที่จัดขึ้น ณ โรงเรียนธงชัยวิทยา อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น เกิดขี้นจากความต้องการส่งเสริมและช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตภาคกลางตอนล่าง มาเป็นระยะเวลานาน การดำเนินการจัดโครงการค่ายภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์ในสาขา ช่วยฝึกฝนและพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล นำความรู้ที่ตนเองได้ และเรียนรู้ในชั้นเรียนไปใช้ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่รู้จักการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสังคม และฝึกการเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่เยาวชนในท้องถิ่นให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ มีความรู้เพิ่มขึ้น และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ยั่งยืนต่อไปอีกประการหนึ่ง
ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้มีการสำรวจพื้นที่ในชุมชนที่อยู่ในโรงเรียนธงชัยวิทยา ซึ่งอยู่ในเขตอ.บางสะพาน เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ต้องการให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติที่เข้ามาพักผ่อนและอาศัยอยู่พื้นที่นี้ อีกทั้งโรงเรียนธงชัยวิทยาเป็นโรงเรียนที่ยังไม่มีโครงการทางด้านภาษาอังกฤษจัดขึ้น จึงมีความต้องการให้โครงการนี้ถูกจัดขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้นีกเรียนได้รับโอกาสที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดความั่นใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น
ดังนั้นการจัดกิจกรรมทางด้านภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน จึงมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดย ( Student-Centre Approach) โดยนำกิจกรรมทางด้านภาษาอังกฤษในการพัฒนาทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน โดยผ่านการเรียนรู้แบบ Activity-based Learning ได้แก่ กิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผ่านการร้องเพลง เล่นเกมส์ และการประกวดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ดีงต่อไปนี้
- กิจกรรม Let’s have Fun with English ละลายพฤติกรรม
- กิจกรรม Walk Rally
- กิจกกรรม Learning English through media
- กิจกรรม Edutainment classroom ในห้อเรียน
- กิจกรรม English Campfire
- กิจกรรมการประกวดมัคคุเทศก์น้อย Bankud Boy & Girl
ผู้อำนวยการ อาจารย์ และบุตตลากร โรงเรียนธงชัยวิทยา ได้ให้ความร่วมมือ และข้อเสนอแนะในการ ทำกิจกรรมค่ายถาษาอังกฤษ จากการสำรวจพื้นที่ โดยอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสและประสบการณ์ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมมิอกัน และการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคศตวรรษที่ 21 และนักศึกษาได้พัฒนาและฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการจัดกิจกกรมต่างๆอีกด้วย และค่ายถาษาอังกฤษนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากชุมชนภายนอก เช่น ข้าราชการส่วนการปกครองท้องถิ่น ผู้ปกครอง ชาวบ้านในพิ้นที่ชุมชนบางสะพานในการจัดทำค่ายภาษาอังกฤษให้เกิดขึ้นในชุมชนอีกด้วย
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
- อาจารย์ และนักเรียนโรงเรียนธงชัยวิทยา อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 80 คน ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมค่ายภาษาอังกฤษสอนด้วยใจ ให้น้องเก่ง ครั้งที่ 13
- ประธานชุมชน อ.บางสะพาน ผู้มีอปการะคุณให้กับโรงเรียนธงชัยวิทยา
- อาจารย์คนไทย และอาจารย์ชาวต่างชาติ และนักศึกษาสาขวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล จำนวน 12 คน
- สมาคมผู้ปกคองและคณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ ผู้มีอุปการะคุณ บริษัทต่างๆ ศิษย์เก่าและปัจจุบัน อาจารย์ในมทร.กรุงเทพ ที่ได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนค่ายถาษาอังกฤษ
ผลจากการมีส่วนร่วม
ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่นักเรียนโรงรัยนธงชัยวิทยา ได้พัฒนาทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ มีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ และเกิดสัมพันธไมตรีและความสามัคคีระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดกิจกรรม อีกทั้งได้สร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในชุมชนภายนอก จากการทำความร่วมมือ MOU ระหว่างโรงเรียน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาจริยธรรมด้านจิตอาสาให้กับชุมชนภายนอกอีกด้วย
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ค่ายภาษาอังกฤษที่จัดทำในพื้นที่ชุมชนห่างไกลอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะในครั้งนี้ ได้บูรณาการด้านการจัดการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นในหลักสูตร ได้แก่ การสอนภาษาอังกฤษ การนำเสนองานภาษาอังกฤษ การฟัง-การพูด การอ่าน การเขียนเบื้องต้น ภาษาอังกฤาสำหรับมัคคุเทศก์ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้และทักษะต่างๆ ไปพัฒนาต่อยอดให้กับนักเรียนในชุมชน ได้แก่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับชาวต่างชาติในชุมชน การมีแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อเนื่องจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน อีกทั้งยังมุ่งเน้น ในการเรียนสู่การสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อพ้ฒนต่อการทำงานในหน่วยงานองค์กรต่างๆ ในอนาคต