การแข่งขันทักษะวิชาชีพภาคอุตสาหกรรมการบริการเพื่อเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ภายใต้หัวข้อแนวคิดการแข่งขัน “Mighty Mix Bartender and Barista Thailand 2023”

ข้อ o30 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

ชื่อโครงการ  แข่งขันทักษะวิชาชีพภาคอุตสาหกรรมการบริการเพื่อเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

ภายใต้หัวข้อแนวคิดการแข่งขัน “Mighty Mix Bartender and Barista Thailand 2023” ระหว่างวันที่ 2-6 มีนาคม 2566

  • ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมระหว่างคณะศิลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในจังหวัดน่านในรูปแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน โดยมุ่ง พัฒนาความรู้ทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมกาแฟและอาหารเครื่องดื่มเมืองน่าน และการให้ความรู้ด้านการนำวัตุดิบท้องถิ้นมาประยุกต์และสร้างสรรค์เครื่องดื่มที่เป็นอัตลักษณ์ของเมืองน่าน รวมทั้งเกิดการบูรณาการ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดร่วมกันในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ออฟไลน์ทั่วทั้งประเทศในลักษณะห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน สนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรองที่เข้าถึงเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้คณะศิลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้นำจุดแข็งด้านวิชาการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจในการถ่ายทอดประสบการณ์กิจกรรม Workshop เรื่อง “สื่อสารการตลาดดิจิทัลด้วยภาพถ่ายสุดคูล” โดยวิทยากรด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ กับกิจกรรมเรียนรู้การถ่ายภาพเครื่องดื่มสำหรับโปรโมทบนสื่อออนไลน์และทำเมนูเครื่องดื่ม เพื่อส่งเสริมการตลาดเพิ่มยอดขาย เรื่อง“การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย Food stylist” วิทยากรและอาจารย์ผู้สอนศิลปะการตกแต่งอาหาร และการออกแบบเครื่องดื่มจากวัตุดิบท้องถิ่น เรื่อง “Drink in DIY เครื่องดื่ม DIY” วิทยากรโดยอาจารย์ผู้สอนการโรงแรม เพื่อเป็นเครื่องแนวใหม่ที่ตรงกับความสนใจของนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน ผู้สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เมนูเครื่องดื่มเพื่อส่งเสริมการตลาดให้ธุรกิจตนเอง เพื่อต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจตนเอง

คณะศิลปศาสตร์เล็งเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมการบริการในอนาคตให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆเพื่อร่วมพัฒนาบุคคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพหรือสร้างธุรกิจเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้รับความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมทั้งการฝึกทักษะความชำนาญจากการแข่งขันด้านพนักงานผสมเครื่องดื่ม (Bartender) และพนักงานบริการกาแฟ (Barista) ที่มีมาตรฐานในระดับสากลในภาคปฏิบัติ อันนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมต่อไป

  • สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
    • หน่วยงานภาครัฐ ได้ร่วมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมกาแฟ
    • ภาคเอกชนร่วมกิจกรรมออกบูธเพื่อประชาสัมพันพ์กิจกรรมทางการเกษตรด้านกาแฟ ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดน่าน และวิทยาลัยชุมชนจังหวัดน่าน มทร.ล้านนา มทร.กรุงเทพ ร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ ด้านกาแฟและเครื่องดื่ม
    • สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลจากกติการแข่งขัน
  • ผลจากการมีส่วนร่วม
    • นักวิชาการ ผู้สนใจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปพัฒนาและบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อต่อยอดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน ในอนาคตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อันจะนำมาซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นรวมทั้งจะก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เกษตรกร อำเภอ และจังหวัดได้มากยิ่งขึ้น
    • ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และชุมชนการท่องเที่ยวได้มีความรู้ความเข้าใจ ที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน และนำไปปรับใช้กับการประชาสัมพันธ์และพัฒนาให้ตรงเป้าหมาย ก็จะก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เกษตรกร อำเภอ และจังหวัดได้มากยิ่งขึ้น
    • ชุมชนเกษตรที่มีสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่า สามารถพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ โดยเพิ่มมูลค่าจากรายได้การขายสินค้าการเกษตร และยังเป็นการส่งเสริมรายได้เพิ่มของครอบครัวจากการเพิ่มมูลค่าสินค้าผ่านกระบวนการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้
    • เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมเชิงกาแฟในจังหวัดน่านได้ทราบถึงความสามารถในการจัดการด้านการตลาดของตนเองและนำข้อมูลไปใช้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม
    • สถาบันการศึกษาได้นำความรู้ไประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ผระกอบการได้ในอนาคต
  • การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรบปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนที่เข้าถึงกลุ่มของชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน สนับสนุนให้บุคคลากรในมหาวิทยาลัยทั้งอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ได้เรียนประสบการณ์จากสถานที่จริง โดยร่วมพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการบริการเพื่อท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ที่เป็นความต้องการของนักท่องเที่ยว ในรายวิชาความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมและที่พัก การดำเนินงานบาร์และกาแฟ การตลาดบริการ  การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน  และวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ได้นำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยผ่านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคตต่อไป

Loading