โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)

ข้อ o30 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG) ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้เข้าร่วมกิจกรรมการนำเสนอผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการพัฒนาและออกแบบโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งสินค้าทั้งหมดเป็นการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดและสามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน ในกิจกรรมดังกล่าวจะมีการให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าชมงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่กับนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ในเขตภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง ซึ่งสามารถสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งที่เป็นผู้ประกอบการขนาด SME และวิสาหกิจชุมชน

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
• หน่วยงานภาครัฐได้ร่วมจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้องค์ความรู้และทรัพยกรของมหาวิทยาลัย
• ภาคเอกชน (ผู้ประกอบการ) ร่วมกิจกรรมในการออกบูธในการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมงานเพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนมากขึ้น
• สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการสร้างเครือข่ายงานวิจัยและพัฒนาและการทำงานเชิงพื้นที่ให้เกิดการขับเคลื่อน

เศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน

ผลจากการมีส่วนร่วม
• หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมกิจกรรมนำข้อมูลจากผู้บริโภคที่เข้าชมงานมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่สามารถต่อยอดในการขยายตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น
• ภาคเอกชน (ผู้ประกอบการ) ทราบถึงข้อมูลตลาดและโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการรายอื่นที่สามารถช่วยกันผลักดันให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายเพิ่มขึ้นได้
• สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดผลงานที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้จริง

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ในการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ทราบถึงโอกาสในการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และเครือข่ายนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาอื่น สามารถนำมาเติมเต็มและพัฒนาการดำเนินงานเชิงพื้นที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาให้สมบูรณ์และมีศักยภาพมากขึ้น

Loading